สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร สาขาวิชา สถิติการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 16 Aug 2018
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เนื้อหาส่วนนี้จะกล่าวถึงเวกเตอร์ (vectors) ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลของบุคคลหรือสิ่งที่นักสถิติสนใจจะศึกษาในหลาย ๆ มิติ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมโนทัศน์เกี่ยวกับเวกเตอร์มากยิ่งขึ้น จึงขอให้ผู้อ่านพิจารณารูปดังต่อไปนี้
กิจกรรม 2.5 :
หากต้องเก็บรวบรวมข้อมูลในห้องเรียนข้างต้นเพื่อบรรยายสภาพการจัดการเรียนรู้นิสิตคิดว่าควรเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง?
จากกิจกรรมข้างต้นจะเห็นว่า การบรรยายสภาพการจัดการเรียนรู้ของห้องเรียนในรูปไม่สามารถบรรยายได้อย่างสมบูรณ์ด้วยตัวแปรเพียงตัวเดียว แต่มีความจำเป็นต้องอาศัยการเก็บข้อมูลจากตัวแปรหลายตัว เช่น จำนวนนักเรียนในชั้นเรียน (\(x_1\)) หรือ ระดับการมีปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนในชั้นเรียน (\(x_2\)) เป็นต้น
ในทางคณิตศาสตร์สามารถเก็บข้อมูลหลายตัวแปรดังข้างต้นไว้ในวัตถุที่เรียกว่า เวกเตอร์ (vectors) ยกตัวอย่าง เช่น เวกเตอร์ของสภาพการจัดการเรียนรู้ (x) สามารถเขียนในเชิงคณิตศาสตร์ดังนี้
เนื่องจากเวกเตอร์เป็นปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง การระบุเวกเตอร์ที่ใช้แทนสภาพของสิ่งที่สนใจจึงเป็นการแปลงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสภาพจริงให้เป็นข้อมูลตัวเลข ที่สามารถระบุตำแหน่งได้บนระนาบหรือปริภูมิของเวกเตอร์ ที่มีความหมายเป็นโลกเสมือนของปรากฏการณ์ที่สนใจ จากรูป 2.2 จะเห็นว่าตำแหน่งของเวกเตอร์ \(\textbf{x}\) ของห้องเรียนในรูปแสดงให้เห็นว่าเป็นห้องเรียนที่มีจำนวนนักเรียนค่อนข้างน้อย และนักเรียนในห้องเรียนมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนอยู่ในระดับที่มาก
อีกลักษณะหนึ่งคือการเก็บข้อมูลของตัวแปรตัวเดียวจากหลายหน่วยข้อมูล เช่น พิจารณาส่วนสูงของนักเรียนในชั้นเรียนแห่งหนึ่งในรูปที่ 2.3
หากต้องการเก็บข้อมูลส่วนสูงของนักเรียน สามารถทำได้โดยเก็บไว้ในเวกเตอร์เช่นเดียวกัน สมมติว่าต้องการเก็บข้อมูลส่วนสูงดังกล่าวไว้ในเวกเตอร์ชื่อว่า \(\textbf{height}\) เวกเตอร์ดังกล่าวจะมีลักษณะดังนี้
การสร้างเวกเตอร์ในโปรแกรม R สามารถทำได้โดยง่ายด้วยฟังก์ชัน <-
(เรียกว่า ฟังก์ชัน concatenate) หมายถึงการเชื่อมโยงค่าของข้อมูลที่กำหนดเข้าด้วยกันให้อยู่ในลักษณะของเวกเตอร์ รูปแบบการใช้ฟังก์ชัน concatenate เป็นดังนี้
<-
\(c(x_1,x_2,x_3,...,x_n)\)
ตัวอย่าง การสร้างเวกเตอร์สภาพการจัดการเรียนรู้ \(\textbf{x}\) ของชั้นเรียนแห่งหนึ่ง
x<-c(13,5) #create x vector
x #print x
## [1] 13 5
เวกเตอร์ยังจำแนกได้เป็น 3 ประเภทขึ้นอยู่กับข้อมูลหรือสมาชิกที่อยู่ภายในเวกเตอร์ ดังนี้
กิจกรรม 2.6:
กิจกรรมอุ่นเรื่อง:
ลองสร้างเวกเตอร์ส่วนสูงของนักเรียนในชั้นเรียนแห่งหนึ่งโดยใช้ข้อมูลจากในรูปต่อไปนี้
สั่งให้โปรแกรมแสดงผลลัพธ์ของเวกเตอร์่ส่วนสูงที่สร้างขึ้น
กิจกรรมเอาจริง
ตาราง 2.1 แสดงข้อมูลคะแนนสอบกลางภาค และปลายภาคในรายวิชาสถิติของนิสิตคณะครุศาสตร์ จำนวน 10 คน
## 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
## Gender M M F M F F F M F M
## Midterm 70 62 56 64 56 68 58 59 55 57
## Final 70 64 47 60 62 59 61 64 55 56
จากข้อมูลในตาราง 2.1
จงสร้างเวกเตอร์ Gender เพื่อเก็บข้อมูลเพศของนักเรียน
จงสร้างเวกเตอร์ Midterm และ Final เพื่อเก็บข้อมูลคะแนนสอบกลางภาคและปลายภาคของนักเรียน
ลองใช้ฟังก์ชัน class()
เพื่อตรวจสอบสถานะของเวกเตอร์ทั้งสาม
numeric vector มีจุดเด่นคือสามารถดำเนินการทางคณิตศาสตร์พื้นฐานด้วยการ บวก ลบ คูณ และหารได้เหมือนการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ปกติ แต่มีเงื่อนไขคือเวกเตอร์ที่นำมาดำเนินการกันจะต้องมีจำนวนสมาชิกเท่ากัน โดยโปรแกรม R จะนำสมาชิกที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันในแต่ละเวกเตอร์มาบวก ลบ คูณ หรือ หาร กันโดยตรง เพื่อให้เกิดเป็นเวกเตอร์ลัพธ์ตัวใหม่ เช่น
x<-c(1,2,3)
y<-c(4,5,6)
x+y
## [1] 5 7 9
x-y
## [1] -3 -3 -3
x*y
## [1] 4 10 18
x/y
## [1] 0.25 0.40 0.50
หากคุณครูต้องการรวมคะแนนสอบกลางภาค และปลายภาค โดยกำหนดให้คะแนนสอบกลางภาคมีน้ำหนักเป็น 40% และคะแนนสอบปลายภาคมีน้ำหนักเป็น 60% จงหาคะแนนรวมของนักเรียนแต่ละคนด้วยการใช้การดำเนินการระหว่างเวกเตอร์ และเก็บข้อมูลคะแนนรวมดังกล่าวไว้ในเวกเตอร์ชื่อว่า sum
result<-sum>=60
result
เป็นเวกเตอร์ประเภทใดในโปรแกรม R มีฟังก์ชัน mean()
และ sd()
สำหรับหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตามลำดับ จงใช้ฟังก์ชันดังกล่าวเพื่อหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนสอบกลางภาค และปลายภาค ตามลำดับ
หากพิจารณาจากคะแนนกลางภาค และปลายภาค นักเรียนในชั้นเรียนนี้มีพัฒนาการหรือไม่ เพราะเหตุใด จงแสดงหลักฐานประกอบคำตอบของท่าน