หน้าต่างทั้ง 3 ของโปรแกรม R
R ประกอบด้วยหน้าต่างทำงานจำนวน 3 หน้าต่างได้แก่ R Console, Editor และ Graphics
รูป 2.1 หน้าต่างทำงานในโปรแกรม R
- R Console เป็นหน้าต่างหลักสำหรับการทำงานด้วยโปรแกรม R โดยมีหน้าที่สองประการได้แก่ การรับคำสั่ง (input) และการแสดงผลลัพธ์ (output) การป้อนคำสั่งในหน้าต่าง R Console สามารถทำได้โดยพิมพ์คำสั่งที่ต้องการที่ด้านหลังเครื่องหมาย “>” (เรียกว่าprompt) ดังตัวอย่างในรูป 2.2
รูป 2.2 การป้อนคำสั่งและการแสดงผลลัพธ์ในหน้าต่าง R Console
- Editor หากผู้เรียนได้ทดลองป้อนคำสั่งในหน้าต่าง R Console โดยตรง ผู้เรียนจะสังเกตเห็นได้ว่า การป้อนคำสั่งใด ๆ ในหน้าต่าง R Console สามารถทำได้เพียงทีละบรรทัด การกดปุ่ม enter คือการสั่งให้โปรแกรมประมวลผลคำสั่งในบรรทัดนั้นและแสดงผลลัพธ์ในทันที ระบบการทำงานดังกล่าวจึงไม่เอื้อต่อการทำงานที่มีความซับซ้อนและต้องใช้คำสั่งหลายคำสั่งร่วมกันในการทำงาน หน้าต่าง editor จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยหน้าต่าง editor จะเข้ามาช่วยทำหน้าต่างรับคำสั่งจากผู้ใช้แทน R Console โดยผู้ใช้สามารถพิมพ์คำสั่งหลายคำสั่งได้ในหน้าต่างเดียวและไม่จำเป็นต้องอยู่ในบรรทัดเดียวกัน อีกทั้งยังสามารถเลือกได้ว่าต้องการประมวลผลเพียงทีละคำสั่งหรือบางคำสั่ง หรือประมวลผลทุกคำสั่งในคราวเดียว
การเรียกใช้หน้าต่าง Editor สามารถทำได้โดยการคลิกเลือกที่เมนู File ที่แถบเมนูด้านบนจากนั้นเลือก “New Script” (สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows) หรือเลือก “New Document” (สำหรับระบบปฏิบัติการ MacOS) ด้วยการทำ highlight ที่คำสั่งแล้วกดปุ่ม clt+R
(สำหรับ ระบบปฏิบัติการ Windows) หรือกดปุ่ม command+return
(สำหรับระบบปฏิบัติการ MacOS) ดังตัวอย่างในรูปที่ 2.3
รูป 2.3 การป้อนคำสั่งในหน้าต่าง Editor
- Graphics (ใน Mac OS เรียกว่าหน้าต่าง “quartz”) เป็นหน้าต่างแสดงผลลัพธ์เชิงกราฟฟิกของโปรแกรม โดยจะเปิดขึ้นเพื่อแสดงผลลัพธ์เมื่อมีการสั่งคำสั่งให้มีการประมวลผลเชิงกราฟฟิก ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่านักวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างแล้วพบว่าประกอบด้วยตัวอย่างเพศชายจำนวน 30 คน และเพศหญิงจำนวน 100 คน นักวิจัยสามารถสร้างแผนภูมิแท่งเพื่อแสดงจำนวนตัวอย่างเพศชายและหญิงดังกล่าวได้โดยใช้คำสั่ง ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ดังรูปที่ 2.4
x<-c(30,70)
barplot(x)
รูป 2.4 หน้าต่าง Graphic
กิจกรรม 1.2: การคำนวณทางคณิตศาสตร์พื้นฐานด้วยโปรแกรม R
โปรแกรม R มีฟังก์ชันพื้นฐานสำหรับการคำนวณทางคณิตศาสตร์หลายฟังก์ชัน ตารางที่ 2.1 แสดงฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์พื้นฐานที่ใช้บ่อย
ตาราง 2.1 ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์พื้นฐานในโปรแกรม R
- จงใช้โปรแกรม R เพื่อคำนวณผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์ดังต่อไปนี้
1.1 \(6+16=?\)
1.2 \(20-6=?\)
1.3 \(4 \times 5=?\)
1.4 \(\sqrt{52^4}=?\)
1.5 \(exp(10) \div exp(5)=?\)
โดยใส่คำตอบที่ได้ลงในแบบบันทึกคำตอบ
- จงบันทึกคำสั่งที่ใช้ในการคำนวณลงใน script file โดยตั้งชื่อไฟล์ในรูปแบบ“รหัสนิสิต.R” ดังตัวอย่างในรูป
